ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

call number

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -call number-, *call number*
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
call number(n) เลขเรียกหนังสือในห้องสมุด, See also: หมายเลขที่แสดงตำแหน่งที่เก็บของหนังสือในห้องสมุด

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
call numbern. หมายเลขหิ้งหนังสือ

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Call numberเลขเรียกหนังสือ [เทคโนโลยีการศึกษา]
Call numberเลขเรียกหนังสือ, เลขเรียกหนังสือ, Example: หมายถึง รหัส หรือ สัญลักษณ์ที่บรรณารักษ์กำหนดขึ้นสำหรับระบุถึงหนังสือแต่ละชื่อเรื่อง หรือวัสดุห้องสมุดแต่ละชิ้น เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดใช้เป็นจุดเข้าถึงวัสดุของห้องสมุด ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนบ้านเลขที่ หรือตำแหน่งของหนังสือแต่ละชื่อเรื่องที่มีอยู่ในห้องสมุดนั่นเอง เมื่อต้องการหาหนังสือชื่อเรื่องนั้น โดยสืบค้นจากบัตรรายการ หรือสืบค้นจากฐานข้อมูลห้องสมุด ได้ทราบถึงเลขเรียกหนังสือ จึงใช้เลขเรียกหนังสือนั้น หาหนังสือที่ต้องการว่าอยู่ที่ชั้นหนังสือใดของห้องสมุด นอกจากนี้ ใช้ในการสื่อสารกับบรรณารักษ์ในงานบริการจ่ายรับหนังสือ บริการตอบคำถาม ฯลฯ และให้บรรณารักษ์ใช้ประโยชน์ในการจัดหา การให้บริการ การจัดเก็บ และการสำรวจวัสดุห้องสมุด เนื่องจากใช้เลขเรียกหนังสือเป็นการอ้างถึงหนังสือแต่ละชื่อเรื่องนั่นเอง <p>เลขเรียกหนังสือ ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ เลขหมู่ และเลขผู้แต่ง <p>1. เลขหมู่ (Classification number) เป็นรหัสหรือสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ได้มาจากระบบการจัดหมวดหมู่ เช่น ระบบการจัดหมวดหมู่ทศนิยมของดิวอี้ หรือระบบการจัดหมวดหมู่ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หรือเป็นระบบการจัดหมวดหมู่ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นใช้เอง <p> ตัวอย่าง H (ระบบการจัดหมวดหมู่ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน) หมายถึง เนื้อหาในสาขาสังคมศาสตร์ <p> 025.433 (ระบบการจัดหมวดหมู่ทศนิยมของดิวอี้) หมายถึง เลขที่ใช้แทนเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> วพ หมายถึง รหัสเพื่อใช้แทนประเภทของหนังสือที่เป็นวิทยานิพนธ์ <p> สวทช. สก. 8 หมายถึง รหัสและเลขที่ใช้หนังสือที่ออกโดยสำนักงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประเภทหนังสือทั่วไป <p> 2. เลขผู้แต่ง (Author number) หรือเลขหนังสือ (Book number) เป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น แทนชื่อเต็มของผู้แต่งหรือรายการหลักในการลงรายการหนังสือ มักใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรผสมกับตัวเลข โดยใช้อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง หรือชื่อสกุลของผู้แต่ง (กรณีที่เป็นผู้แต่งชาวต่างประเทศ) ที่เป็นรายการหลัก ผสมกับตัวเลขที่กำหนดให้สำหรับผู้แต่งแต่ละคนตามคู่มือสำหรับกำหนดเลขประจำผู้แต่ง <p> ตัวอย่าง 025.433 อ555ค <p> เลขเรียกหนังสือนี้ มาจากหนังสือชื่อ "คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน" เขียนโดย อัมพร ทีขะระ จึงได้เลขหมู่เป็น 025.433 ส่วน อ555 คือ หมายเลขผู้แต่งสำหรับ อัมพร ส่วน ค หมายถึง อักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง คือ คู่มือ <p> การกำหนดเลขผู้แต่ง ช่วยให้หนังสือแต่ละเล่มมีเลขเรียกหนังสือที่ไม่ซ้ำกัน กรณีที่หนังสือมีเนื้อหาเหมือนกันหรือคล้ายกัน และมีการกำหนดเลขหมู่ออกมาเหมือนกัน จากตัวอย่าง ข้างต้น ถ้าห้องสมุดมีการจัดซื้อหนังสือเกี่ยวกับการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เข้ามาโดยผู้แต่งที่เขียนหลายๆ คน เลขผู้แต่งจะเป็นตัวแสดงให้เห็นความแตกต่างของผู้เขียนแต่ละคน <p> ตัวอย่าง ห้องสมุดมีหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดยมีการกำหนดชื่อเรื่องที่เหมือนกัน หรือคล้ายกัน ได้แก่ <p> การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย กมลา รุ่งอุทัย จะมีเลขเรียกหนังสือเป็น 025.433 ก138 <p> การจัดหมู่หนังสือระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย บุญถาวร หงสกุล จะมีเลขเรียกหนังสือเป็น 025.433 บ455 <p> การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย ระเบียบ สุภวิรี จะมีเลขเรียกหนังสือเป็น 025.433 ร235 <p> คู่มือการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย วิลัย อัคคอิชยา จะมีเลขเรียกหนังสือเป็น 025.433 ว716 <p> คู่มือการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย อัมพร ทีขะระ จะมีเลขเรียกหนังสือเป็น 025.433 อ555 <p> ดังนั้น เมื่อเรียงเลขเรียกหนังสือ จะเห็นความแตกต่างของเลขผู้แต่ง ภายใต้เลขหมู่หนังสือเดียวกัน <p> 025.433 ก138 <p> 025.433 บ455 <p> 025.433 ร235 <p> 025.433 ว716 <p> 025.433 อ555 <p> 3. สัญลักษณ์อื่นๆ ที่ประกอบอยู่ในเลขเรียกหนังสือ <p> 3.1 อักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง กรณีที่ผู้แต่งคนเดียวกันแต่งหนังสือที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน แต่ใช้ชื่อเรื่องต่างกัน กรณี จะมีเลขหมู่ เหมือนกัน เลขผู้แต่ง เหมือนกัน จะทำให้เกิดความซ้ำของเลขเรียกหนังสือได้ จึงได้มีการกำหนดให้ใช้อักษรตัวแรกของชื่อเรื่องใส่ไว้หลังเลขผู้แต่ง <p> ตัวอย่าง <p> โฆษณาไทยสมัยแรก โดย เอนก นาวิกมูล เลขหมู่ คือ 659.1 เลขผู้แต่ง คือ อ893 <p> โฆษณาคลาสลิค โดย เอนก นาวิกมูล เลขหมู่คือ 659.1 เลขผู้แต่ง คือ อ 893 <p> โฆษณาไทย โดย เอนก นาวิกมูล เลขหมู่ คือ 659.1 เลขผู้แต่ง คือ อ893 <p> 659.1 ในระบบการจัดหมู่ทศนิยมดิวอี้ หมายถึง การโฆษณา แต่เผอิญ เอนก นาวิกมูล แต่งหนังสือโดยใช้ชื่อว่า โฆษณา ขึ้นต้นอยู่หลายเรื่อง ถ้าจะให้เลขเรียกหนังสือ เป็น 659.1 อ893ฆ ก็จะซ้ำกันทั้งหมด ทั้งๆ ที่เป็นคนละชื่อเรื่องกัน จึงใส่ตัวอักษรอีกตัวหนึ่งเพื่อให้เกิดความแตกต่าง เช่น <p> 659.1 อ893ฆ โฆษณาไทยสมัยแรก <p> 659.1 อ893ฆค โฆษณาคลาสลิค <p> 659.1 อ893ฆษ โฆษณาไทย <p> 3.2 กำหนดสัญลักษณ์แทนประเภทของหนังสือ ส่วนมากใส่ไว้เหนือเลขหมู่ เช่น หมวดหนังสืออ้างอิง ใช้ตัว อ (คือ อ้างอิง สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาไทย) และ R หรือ Ref (คือ Reference สำหรับหนังสืออ้างอิงภาษาต่างประเทศ) <p> อ 495.913 สำหรับ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ใช้เลขหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ <p> อ PL4185 สำหรับ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ใช้เลขหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> 3.3 สัญลักษณ์ระบุแทนปีที่พิมพ์ของหนังสือ ในกรณีที่หนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน และผู้แต่งคนเดียวกัน จัดพิมพ์ออกจำหน่ายมากกว่า 1 ครั้ง มักจะใส่ปีที่พิมพ์เพื่อให้ความแตกต่างและให้ทราบว่าเล่มใดมีความทันสมัยมากกว่ากัน โดยใส่ถัดจากเลขผู้แต่ง <p> ตัวอย่าง <p> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ในปี 2498 มีเลขหมู่ เป็น อ 495.913 พร174 2498 <p> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ในปี 2502 มีเลขหมู่ เป็น อ 495.913 พร174 2502 <p> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ในปี 2512 มีเลขหมู่ เป็น อ 495.913 พร174 2512 <p> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ในปี 2523 มีเลขหมู่ เป็น อ 495.913 พร174 2523 <p> 3.4 การกำหนดสัญลักษณ์บอกจำนวนซ้ำ กรณีที่ห้องสมุดมีหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน ผู้แต่งคนเดียว ปีพิมพ์เดียวกัน มากกว่า ๑ ฉบับ จะมีการกำหนดลำดับของจำนวนหนังสือแต่ละเล่มไว้ด้วย เป็น ฉ หมายถึง ฉบับ (สำหรับหนังสือภาษาไทย) และ C หมายถึง Copy (สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ) เช่น <p> พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ในปี 2523 มีจำนวน ๕ ฉบับ มีเลขหมู่ เป็น <p> อ 495.913 พร174 2523 ฉ.1 <p> อ 495.913 พร174 2523 ฉ.2 <p> อ 495.913 พร174 2523 ฉ.3 <p> อ 495.913 พร174 2523 ฉ.4 <p> อ 495.913 พร174 2523 ฉ.5 <p> 3.5 สัญลักษณ์บอกลำดับเล่มที่ของหนังสือ กรณีที่เป็นหนังสือชุด หรือมีหลายเล่มจบ ใช้อักษร ล. (หมายถึง เล่มที่ สำหรับหนังสือภาษาไทย) และ ใช้ v. (หมายถึง volume สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ) และกำหนดตัวเลขบอกลำดับที่เล่มของหนังสือไว้ถัดจากเลขผู้แต่ง หรือเลขปีที่พิมพ์ <p> สารานุกรมไทย ของ อุทัย สินธุสาร <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 1 <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 2 <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 3 <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 4 <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 5 <p> อ 039.9591 อ821ส ล. 6 <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110313-CallNumber.JPG" width="640" higth="200" alt="Call number"> <p> ตัวอย่าง เลขเรียกหนังสือที่มีทั้งเลขหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน สัญลักษณ์อื่นๆ ที่กำหนดขึ้นเป็นเลขเรียกหนังสือเฉพาะคอลเลคชั่น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

Japanese-English: EDICT Dictionary
コールナンバー[ko-runanba-] (n) call number [Add to Longdo]
請求記号[せいきゅうきごう, seikyuukigou] (n) call number (e.g. of a book in a library) [Add to Longdo]

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top